สารบัญเนื้อหา
สำหรับใครที่อยากเริ่มเขียนหนังสือ และอยากมีหนังสือเป็นของตัวเอง อาจจะเขียนเป็นงานอดิเรก หรือจะเขียนเพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเอง ก็สามารถเขียนได้ ซึ่งการเขียนก็มีหลากหลายแบบ หลากหลายแนว ไม่ว่าจะเป็น การเขียนนิยาย เขียนเรื่องสั้น เขียนบทความ ฯลฯ ดังนั้น นักเขียนมือใหม่ที่อยากเขียนหนังสือ และอยากมีหนังสือเป็นของตัวเอง ในบทความนี้เราก็มีขั้นตอนก่อนการเขียนหนังสือ ขั้นตอนการเขียน และทำหนังสือ และต้นทุนการผลิตหนังสือ มาให้นักเขียนมือใหม่ได้ลองศึกษา และทำความเข้าใจในการทำหนังสือให้มากขึ้นกันค่ะ
เมื่ออยากมีหนังสือของตัวเอง ต้องมีความรู้ และขั้นตอนอะไรบ้าง?
ขั้นตอนก่อนการเขียนหนังสือ
1. เลือกหนังสือเล่มที่ชอบ ถือเป็นวิธีการแรกสุดของการเริ่มต้นหัดเขียน โดยการย้อนกลับไปอ่านหนังสือที่ตัวเราชอบมากที่สุดอีกครั้ง เพื่อทำความเข้าใจ สังเกต เก็บข้อมูล และดูวิธีการเขียนของหนังสือ โดยดูว่าเขามีวิธีการเขียนอย่างไร เขาเลือกใช้คำแบบไหน เขาเริ่มต้นอย่างไร เขาลงท้ายแบบไหน ซึ่งจะช่วยเป็นไกด์สำหรับการเริ่มต้นเขียนของเราได้
2. รู้สิ่งที่อยากเขียน ก่อนจะเริ่มต้องถามตัวเองให้ดี ว่าสิ่งที่อยากเขียนคืออะไร อยากเขียนแนวไหน ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบทความสุขภาพ หรือจะเป็นนิยายรักโรแมนติก ซึ่งในการเขียนหนังสือแต่ละแนว เราก็ต้องศึกษาวิธีการเขียนแบบนั้น ๆ ด้วย เช่น เขียนเรื่องสั้น เราก็ต้องมีโครงเรื่อง มีตัวละคร มีวิธีการเล่าเรื่อง หรือเขียนบทความ เราก็ต้องมีประเด็นที่จะเขียน มีคำนำ มีเนื้อเรื่อง มีสรุป มีองค์ประกอบ เป็นเกณฑ์นำทางในการเริ่มต้นเขียน
3. หัวข้อที่จะเขียน เมื่อรู้แล้วว่าจะเขียนอะไร แนวไหน ก็ให้หาประเด็น หาหัวข้อที่เราจะเขียน ซึ่งอาจจะเขียนจากสิ่งของรอบตัว โดยในการเขียนหัวใจสำคัญอยู่ที่เราต้องกำหนดโจทย์ในการเขียนให้ตัวเราเอง เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะไม่ยอมเขียน ซึ่งนอกจากการกำหนดโจทย์จากสิ่งรอบตัวแล้ว เรายังสามารถหาหัวข้อในการเขียนแบบสนุก ๆ ได้อีกหลายวิธี ทั้งนี้โจทย์ที่เราตั้งไว้ ยังสามารถเอาไปเขียนเป็นแนวอื่นได้เช่นกัน
4. เขียนแล้วอ่านออกเสียง เพราะมือใหม่เริ่มหัดเขียน อาจไม่ค่อยมั่นใจว่าสิ่งที่ตัวเองเขียนดีหรือไม่ ดังนั้น อันดับแรกคือเราต้องเขียนให้ตัวเราเองพอใจก่อน ซึ่งวิธีการก็คือ ให้เราเขียนไปตามความรู้สึก เขียนแบบเพื่อสื่อสารข้อความให้เข้าใจ เมื่อเขียนจบ ให้เราอ่านออกเสียง และฟังสิ่งที่เราเขียนไป จะทำให้เราเริ่มจับได้ว่า ตรงไหนติดขัด ตรงไหนไม่ลื่นไหล ตรงไหนสะดุด แล้วก็ค่อย ๆ เกลา แต่งเติมไปทีละนิด จะทำให้เราได้งานที่เราพอใจมากที่สุด
5. แบ่งปันงานเขียน ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนประเภทใด อย่าเก็บเอาไว้อ่านคนเดียวเด็ดขาด เพราะคุณค่าของนักเขียนนั้น ก็เกิดจากการมีคนอ่านทั้งสิ้น ดังนั้น อย่าอาย อย่ากลัว และเปิดใจยอมรับทุกเสียงติชม เพราะไม่มีทางที่งานเขียนของเราจะไม่ถูกวิจารณ์ แต่ในการถูกวิจารณ์ก็จะทำให้เราสามารถพัฒนาตัวเอง พัฒนางานเขียนของเราให้ดีขึ้นไปอีกด้วย
6. เขียนอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเรื่องสั้น เรื่องยาว คำคม บทความ ข้อคิด ฯลฯ ซึ่งการมีวินัย มีความสม่ำเสมอในการหัดเขียน จะทำให้เราเขียนเก่งขึ้น ไวขึ้น คมขึ้น และการมีงานเขียนส่งไปให้ผู้อ่านทุกวันสม่ำเสมอ คือสิ่งที่จะทำให้ผู้คนเข้าใจเรามากขึ้น ยอมรับเรามากขึ้น และชื่นชอบผลงานของเรามากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้นักเขียนได้พัฒนาตัวเอง และได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ
ขั้นตอนการเขียน และทำหนังสือ
1. วางโครงเรื่อง ถือเป็นหัวใจหลักของงานทุกชนิด เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดหมาย เราต้องรู้ว่าเรื่องของเราจะเริ่มยังไง ? จบยังไง ? คิดไว้ก่อนคร่าว ๆ ซึ่งนักเขียนส่วนใหญ่เนื้อเรื่องอยู่ในหัวหมดแล้ว วิธีการก็คือเขียนออกมาแบบคร่าว ๆ ให้พอรู้ว่าประมาณไหน
2. Re Write โดยนักเขียน หลังจากพิมพ์ที่ทุกอย่างเสร็จแล้ว ให้พักหรือทำกิจกรรมอื่นก่อน ค่อยกลับไปอ่านเรื่องที่เขียนไปตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย เพื่อหาดูว่ามีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง เช่น สำนวน การสะกด วรรคตอน ย่อหน้า เป็นต้น เมื่อรู้ว่ามีข้อผิดพลาดตรงไหนบ้างก็ค่อย ๆ แก้ไข แต่การ Re Write รอบเดียวอาจจะไม่ครบถ้วน ดังนั้น จึงควรอ่านอย่างน้อย 3-5 รอบ เพื่อให้ไม่เจอข้อผิดพลาดอีก
3. ส่งงานให้บรรณาธิการ ซึ่งจะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบต้นฉบับของนักเขียน โดยจะทำหน้าที่แก้ไข แนะนำสิ่งที่สมควรต่าง ๆ จากนั้นต้นฉบับที่ถูกแก้ไขแล้วจะถูกปริ้นท์ใส่กระดาษ A4 เพื่อส่งกลับมาที่นักเขียนอีกครั้ง โดยระยะเวลาที่บรรณาธิการตรวจสอบประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่สำหรับนักเขียนที่ส่งครั้ง การพิจารณาต้นฉบับจะใช้เวลาตั้งแต่ 1 สัปดาห์ – 6 เดือนขึ้นไป
4. Edit เป็นการ Re Write โดยนักเขียน ซึ่งตรงกระบวนการนี้ต้นฉบับของนักเขียนจะเหลือข้อผิดพลาดน้อยมาก นักเขียนจะได้ต้นฉบับมาดูอีกครั้งเพื่อตรวจว่ามีอะไรตกหล่นหรือไม่ ? และตรงนี้บรรณาธิการส่วนใหญ่จะแจ้งมาว่า ขอแก้ตรงนี้ ขอแนะนำตรงนี้ มีข้อสงสัยตรงนี้ นักเขียนก็ปรับตามความเหมาะสม นอกจากการตรวจตรา และแก้ไขแล้ว นักเขียนยีงสามารถเพิ่มเติมความสมบูรณ์ของเนื้อเรื่องได้ด้วย
5. ส่งกลับไปให้บรรณาธิการ การส่งกลับไปให้บรรณาธิการครั้งนี้ เพื่อตรวจดูสิ่งที่เราแก้ไขอีกครั้ง ว่าถูกต้องหรือต้องแก้ไขอะไรเพิ่มเติมอีกหรือเปล่า
6. ส่งกลับไปยังนักเขียน เพื่อเป็นตรวจสอบความถูกต้องครั้งสุดท้าย ซึ่งตรงนี้จะไม่ค่อยมีการแก้ไขอะไรแล้ว โดยผลงานจะสมบูรณ์ไปแล้ว 95% ดังนั้น นักเขียนแค่ตรวจดูความละเอียดของเนื้อเรื่องเท่านั้น เมื่อตรวจเสร็จก็ส่งต้นฉบับกลับไปที่บรรณาธิการ ก็จะกลายเป็น ต้นฉบับ 100%
7. จัดหน้ากระดาษ หลังจากที่ ต้นฉบับ A4 ถูกตรวจสอบครบถ้วนแล้ว จะมีทีมงานฝ่ายบรรณาธิการต้องทำหน้าที่จัดการกับหน้ากระดาษให้ออกมาเป็นแบบ A5 ซึ่งก็คือขนาดมาตรฐานของพ๊อกเก็ตบุ๊คทั่วไป ตรงนี้จะมีการกำหนดรูปแบบของหนังสือด้วยว่า ขอบบน ขอบล่าง ด้านข้างทั้งสอง เว้นเท่าไหร่ ? ตัวหนังสือแบบไหน ? ไซส์อะไร ? ขนาดช่องไฟ ช่องว่างการเว้นบรรทัดเท่าไหร่ ? การย่อหน้าเท่าไหร่ ? หลังจากจัดหน้ากระดาษแล้ว ส่วนมากนักเขียนจะได้ดูอีกรอบ เพื่อตรวจว่าเขาจัดการถูกต้องไหม ? แล้วแก้ไขส่งกลับไป
8. เข้ารูปเล่ม หลังจากที่ต้นฉบับถูกพิมพ์เพรทออกมาเรียบร้อย ก็จะเอาต้นฉบับพวกนี้ไปเข้ารูปเล่มแบบไสกาว หรือ เข้ารูปเล่มแบบเย็บกี่ ซึ่งเป็นการเย็บที่ทนทานมาก และจะคงสภาพหนังสือไว้ได้ค่อนข้างนาน และเมื่อเสร็จการเข้ารูปเล่ม ต้นฉบับของนักเขียนก็จะกลายเป็นผลงาน
ต้นทุนการผลิตหนังสือ
1. ค่าลิขสิทธิ์ของนักเขียน ในทุกงานเขียนจะต้องถูกเขียนโดยนักเขียน ทางสำนักพิมพ์จะต้องลงทุนในค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งค่าลิขสิทธิ์นี้จะขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างสำนักพิมพ์ และนักเขียน
2. ค่าจ้างออกแบบกราฟิกดีไซน์ ภาพปกของหนังสือ ถือเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้ส่วนอื่น ๆ ดังนั้น จึงมีการให้นักออกแบบมืออาชีพ ออกแบบภาพปก และและกราฟิกต่าง ๆ ในหนังสือ
3. ค่าบรรณาธิการ และพนักงานในสายการผลิต การทำหนังสือ 1 เล่มจะต้องมีบรรณาธิการ และเจ้าหน้าที่ในการพิสูจน์อักษร รวมไปถึงการจัดเรียงหน้าต่าง ๆ ของหนังสือ เพื่อให้หนังสือเล่มหนึ่งน่าอ่านก่อนที่จะพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่ม
4. ค่าวัตถุดิบในการจัดทำ ในส่วนนี้จะเป็นค่าจัดทำวัตถุดิบต่าง ๆ อย่าง กระดาษ ค่าประกอบเล่ม ค่าพิมพ์ต่าง ๆ เป็นต้น
5. ค่าฝากขายในร้าน หนังสือขายส่ง ต้นทุนค่าฝากขายร้านนับว่าเป็นต้นทุนที่มากที่สุดของการพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งเลย เพราะร้านหนังสือ และสายส่งจะคิดราคาตรงนี้อยู่ที่ 40% ของราคาปก ซึ่งทางสำนักพิมพ์จะเป็นผู้แบกรับค่าใช้จ่ายตรงจุดนี้
สรุป
ทั้งหมดก็เป็นขั้นตอนตั้งแต่ก่อนการเริ่มเขียน การเขียน การทำหนังสือ รวมไปถึงการบอกต้นทุนของการผลิตหนังสือ เพื่อให้นักเขียนมือใหม่ได้รู้ถึงกระบวนการในการทำหนังสือ ว่าต้องมีขั้นตอนอะไรบ้าง ซึ่งจะช่วยให้นักเขียนเข้าใจในหลักการเขียน การทำหนังสือ และทำให้การทำงานง่ายขึ้นค่ะ
สำหรับท่านใดที่สนใจอยากจัดพิมพ์หนังสือ สามารถติดต่อ โรงพิมพ์ Ricco ของเราได้ เรายินดีให้บริการออกแบบ และผลิตหนังสือ ทุกแบบ ทุกประเภท โดยไม่มีจำนวนจำกัด เรามีทีมกราฟิกที่จะช่วยออกแบบได้ตามที่คุณต้องการ และเรายังมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านงานพิมพ์หนังสือ พร้อมด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ทันสมัย รับประกันงานพิมพ์คุณภาพและการบริการที่รวดเร็ว
เกี่ยวกับ Ricco
บริษัท ริคโค จำกัด เริ่มดำเนินธุรกิจเมื่อปี พ.ศ. 2539 เราให้บริการออกแบบ และผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด ด้วยเครื่องพิมพ์ระบบ Offset และ Digital ที่ทันสมัยที่สุด สามารถรองรับงานพิมพ์ได้หลากหลายประเภท เรามีความเป็นมืออาชีพและครบวงจรทางด้านสื่อสิ่งพิมพ์ (One Stop Service) ด้วยประสบการณ์มากกว่า 24 ปี ทำให้เราสร้างสรรค์งานพิมพ์คุณภาพอยู่เสมอ
ทั้งนี้เรายังมีบริการป้อนข้อมูลหรือบริการคีย์ข้อมูลใบสมัคร แบบฟอร์มต่างๆ บริการจัดการ ปรับปรุง แก้ไข ตรวจสอบฐานข้อมูลเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่มีอยู่ยังคงเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์ บริการตรวจสอบข้อมูลตามเงื่อนไข การตลาดทางตรงในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ สามารถเจาะจงลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ซึ่งเราจะสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า เพื่อให้เป็นโรงพิมพ์ที่ลูกค้าไว้วางใจ
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.freepik.com/